สีของไทย ( Thai Colors )
ในบทร้อง ร่ายในวรรณกรรมสมัยอยุธยา เรื่อง ลิลิตพระลอ ( Lilit Phra Lo , Ayutthaya Literary work ) บทที่ 318 ซึ่งเป็นตอน "พระลอตามไก่" ซึ่งเป็นตอนที่ ปู่เจ้าสมิงพราย ได้ทำเวทย์มนต์ดลใจให้พระลอมาพบพระเพื่อนพระแพงที่สวนขวัญในเมืองสรอง ปู่เจ้าสมิงพรายเล็งเห็นว่าพระลอ พระเพื่อนพระแพงเคยมีกรรมเวรมาแต่ชาติปางก่อน และต้องมาใช้กรรมชาตินี้ร่วมกันจึงทำเวทย์มนต์ให้พระลอเคลิบเคลิ้ม จนตัดพระทัยจากพระมารดาและพระมเหสีเพื่อไปหาพระเพื่อนพระแพงตามเส้นทางแม่น้ำกาหลง ตามไก่ป่าที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมานำทาง ในบทจะบรรยายความสวยงามของสีสันของไก่ตัวที่ปู่เจ้าสมิงพรายเลือกมา ซึ่งจะมีชื่อสีไทย ต่างๆมากมาย เช่น สีแดง สีเขียว สีเบ็ญจรงค์ ( แดง ขาว เหลือง เขียว ดำ ) สีหงสบาท สีชาด สีรง ฯลฯ บทร้องที่ขึ้นว่า “สร้อยแสงแดงพระพาย ขนเขียวลายระยับ” ซึ่งต่อมามีผู้เรียกชื่อเพลงนี้ว่า เพลงสร้อยแสงแดง หรือเพลงลาวเซิ้ง บางแห่งก็เรียกว่าเพลงต่อไก่ ซึ่งในที่นี้ขอนำบทร่าย "พระลอตามไก่" ของ ลิลิตพระลอที่บรรยายสีของไทย ไว้ได้อย่างละเอียดและไพเราะดังนี้

พระลอตามไก่ "ไก่แก้ว" ( Phra Lo ran after beautiful wild fowl "Kai Keao" )
ร่าย
o ปู่กระสันถึงไก่ไพรพฤกษ์ ปู่รำลึกไก่ไก่ก็มา บ รู้กี่คณากี่หมู่ ปู่เลือกไก่ตัวงาม ทรงทรามวัยทรามแรง สร้อยแสงแดงพะพราย ขนเขียวลายยะยับ ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายหงสบาท ขอบตาชาดพะพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ ขันขานเสียงเอาใจ เดือยงอนใสสีระรอง สองเท้าเทียมนพมาศ เพียงฉลุชาดทารง ปู่ก็ใช้ผีลงแก่ไก่ ไก่แก้วไสร้ บมิกลัว ขุกผกหัวองอาจ ผาดผันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่ก็สั่งแล้วทุกประการ มินานผาดโผนผยอง โลดลำพองคะนอง บหึง ครั้นถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันขานร้อง ตีปีกป้องผายผัน ขันเอื้อยเจื้อยไจ้ไจ้ แล้วไซ้ปีกไซ้หาง โฉมสำอางสำอาด ท้าว ธ ผาดเห็นเป็นตระการ ภูบาลบานหฤทัย งามพอใจพอตา มิทันทาธารทำรง ทรงมกุฎภูษาสรรพ จับพิชัยอาวุธราชพล บันดล ธ ลุกไล่ หวังได้ไก่ตัวงาม ยกทัพตามจอมราช ครั้นคลาดไก่อยู่ถ้า ครั้นช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู ครั้นภูธรจะทัน ไก่ค่อยผันค่อยผาย ระร่ายรายตีนเดิน ดำเนินหงส์ยกย่าง ครั้นเห็นห่างไก่หยุด ครั้นจะสุดแดนป่า ครั้นจะผ่าแดนบ้าน ไก่ทำคร้านมารยา เห็นไก่ช้า ธ ก็สาว ไก่เหินหาวหายเนตร ภูเบศดูอับทิศ บพิตรคิดพระองค์ โอ้กูมาหลงแก่ไก่ ไก่ผีไขว่เอากู ท้าว ธ เหลียวดูพี่เลี้ยง สองพี่กล่าวคำเกลี้ยง ถี่ถ้วนทั้งมวล
( The lyric of Lao Joy or Lao Joi was derived from an Ayutthaya Literary work named Lilit Phra Lo ( ลิลิตพระลอ ) of the poem's verse # 318 :
Pu Chau summoned all wild fowls. He willed them to come before him. Flocks upon flocks of them appeared. Pu Chau chose one spledid bird, strong, vigorous and at its prime. A bright red line encircled its neck. Its body speckled and lustrous green, its wings the blending of bencharong ( five noble colors - red, white, yellow, green and black ) with overall tone of indian red ( red color mixed with yellow and a small quantity of pale indigo blue ), and its eyes rimmed chat ( bright red tending towards orange ). Its combs was well-formed and glossy. Its crowing rang clear and pleasing. Its spurs gently curved and opalescent. The color of its feet was golden with lines of crimson down its legs. He invoked a spirit to possess the bird. It became fearless, abruptly rearing its head, strutting about boldly, wings flapping. It started crowing, clear and ringing sound. Pu Chau willed it to do as bidden., sending it at once soaring into the sky and away. Very soon the bird alighted at the place and stepped lightly in sight of Phra Lo. Then it lifted its head, curved its neck and beat its wings vigorously. Repeatedly it crowed with loud, clear and ringing sound. Then it stopped to preen up its feathers, looking spright and strikingly handsome. The King caught sight of such a wonder. His heart was elated with real pleasure at the beauty that gladdened his eyes. He lost no time to bathe himself. Donning on his attire and headdress, grabbing his sword of victory, the King rushed out to pursuit, hoping to catch the splendid bird, with the attendances trairling after. The bird tarried when it lost sight of him. When he lagged, it called to draw him on, rolling its eyes to watch him approaching. When he neared, it moved on unhurriedly, delicately placing its feet, stepping along gracefully in the manner of the hongsa. It paused to wait for him when he was far behind. Nearing the edge of a forest ahead, and coming on to a hamlet by the forest access, the bird slowed its step, feigning languor. Seeing it lagging, the King hastened his steps. It suddenly flew up and vanished from sight. The King was completely mystified, but he quickly came to full realization, "Alas, I had been bewitched, verily! The devil of a bird had beguiled me!" He turned around to find his two companions who readily proffered the King gentle words of consolidation. )
สีในจิตรกรรมไทย
1. รงค์ หมายถึง สี
2. กระยารงค์ หมายถึง เครื่องสี ใชระบายรูปภาพจิตรกรรมทั้งบนฝาผนัง แผ่นกระดาน ผืนผ้า หรือกระดาษที่เป็นเล่มสมุด
3. เบญจรงค์ หมายถึงกลุ่มสีทั้ง ๕ คือ แดง ดำ ขาว เหลือง และคราม
3.1 หมู่สีแดง เช่น สีดินแดง สีแดงชาด สีแดงลิ้นจี่ สีแดงเสน
3.1.1 สีดินแดง ลักษณะแดงคล้ำ ได้จากดินแดงในธรรมชาติอันเกิดจากสนิมของแร่เหล็ก
3.1.2 สีดินแดงเทศ ลักษณะแดงคล้ำและแข็งกว่าสีดินแดงไทย เป็นสีดินแดงเทศที่ได้มาจากอินเดีย ถ้าสีดินแดงเทศได้จากจีน เรียก ตัวเปี้ย
3.1.3 สีแดงชาด ได้จากต้นชาดหรคุณ ถ้าได้จากจีนเรียก ชาดจอแส และชาดอ้ายมุ้ย
3.1.4 สีแดงลิ้นจี่ ได้จากจีน เรียกชาดอินจี
3.1.5 สีแดงเสน เกิดจากออกไซด์ของดีบุก ( Red Lead ) เป็นสีที่มีน้ำหนักมาก คุณสมบัติกระเดียดไปทางแดงส้ม หรืออมเหลืองมาก
3.2 หมู่สีดำ บางที่เรียก เขม่า มีเขม่าควัน เกิดจากการเผาไหม้ ส่วนการเผาน้ำมันยาง เรียก เขม่าแหนบ
3.2.1 สีดำถ่าน ได้จากการเผากระดูกสัตว์ จนดำแล้วบดให้ละเอียด ถ้าใช้งาช้าง เรียกสีที่เกิดขึ้นว่า Ivory Black
3.3 หมู่สีขาว เช่นสีฝุ่นขาว ขาวกระบัง สีปูนขาว
3.3.1 สีฝุ่นขาว เกิดจากออกไซด์ของตะกั่ว สีขาวจัดเนื้อละเอียดมาก จีนและญี่ปุ่นใช้ผัดหน้าสตรี
3.3.2 สีขาวกระบัง ได้จากดินขาว มีน้ำมันมาก เอาไปแช่น้ำกรองให้สะอาดและนำไปเกรอะจนแห้ง แล้วนำไปป่นเป็นผงสีขาว
3.3.3 สีปูนขาว ได้จากเปลือกหอยเผาไฟ เอาน้ำล้างจนปูนจืด แล้วบดให้ละเอียดเป็นฝุ่น
3.4 หมู่สีเหลือง สีเหลืองดิน เหลืองหรดานหิน
3.4.1 สีเหลืองดิน ได้จากดินธรรมชาติสีเหลืองหม่นนำมาละลายน้ำ กรองเอาผงกรวดทรายออก เอาน้ำดินเหลืองไปเกรอะ จนแห้งแล้วบดเป็นฝุ่นต่อไป
3.4.2 สีเหลืองหรดานดิน เกิดจากออกไซด์ของปรอท ทำปฏิกิริยาร่วมกับกำมะถัน ละลายในความร้อน
3.5 หมู่สีคราม เกิดจากต้นคราม เรียกแบ่งเป็น สีขาบ สีน้ำเงิน สีกรมท่า
จากชื่อสีของไทยที่บรรยายไว้ในบทร่าย ของลิลิตพระลอ บทที่ 318 ตอนพระลอตามไก่ ข้างต้น สามารถแยกแยะอธิบายรายละเอียดชื่อของ สีไทย ( Thai Colors ) ได้ดังนี้
ชื่อสีของไทย
|
รายละเอียดในเรื่องสีของไทย
|
สีเหลือง
|
เรียกว่า "รง" ได้จากยางไม้ การทำยางไม้ให้แข็งตัวเพื่อสำหรับเขียนภาพได้ก็ด้วยนำยางไม้นั้นไปบรรจุในกระบอกไม้ใผ่แล้วนำไปย่างไฟอ่อนๆจนยางไม้แข็งเป็นก้อน เป็น รง สีเหลืองไว้สำหรับเป็นสีเขียนภาพได้ สีเหลือง อีกชนิดหนึ่งได้จาก "หอระดาน" ซึ่งเป็นก้อนแข็งคล้ายหิน เวลาจะใช้หอระดานเขียนภาพ ต้องนำหอระดานมาฝนกับฝาละมี หรือหินอ่อนแล้วนำไปผสมน้ำกาว เป็น "น้ำยา" แต่น้ำยาสีเหลืองจากหอระดานนี้จะมีสีไม่เหลืองสดเท่า "รง" จึงนิยมนำน้ำยาสีเหลืองจากหอระดานใช้ในงานเขียนลายรดน้ำ การผสมน้ำยาสีเหลืองเพื่อเขียนลายรดน้ำของไทยนั้น น้ำยาสีเหลืองเริ่มจากการใช้"หอระดาน"ซึ่งมีขายตามร้านขายยาไทยทั่วๆไป ตัวยาหอระดานนี้เป็นหิน ที่มีเนื้ออ่อนไม่แข็งเท่าก้อนหินทั่วไป ขนาดมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง มีเนื้อหินหอระดานนี้เป็นสีเหลือง การละลายหินออกเป็นสีเหลืองทำได้โดย นำหอระดานนั้นมาฝนกับหินลับมีดชนิดที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ เมื่อฝนได้เนื้อสีเหลืองปริมาณเพียงพอแล้ว นำผงที่ได้ผสมกับน้ำสะอาด คนให้ขุ่นในภาชนะแล้วทิ้งไว้จนสีนอนก้น แล้วรินน้ำใสทิ้งเหลือไว้แต่เนื้อสีเหลืองด้านก้นภาชนะ ทำการอย่างนี้ซ้ำไปมา 3-4 ครั้ง เพื่อให้หมดรสเค็ม เมื่อได้เนื้อแล้วเทลง"โกร่ง" ซึ่งเป็นภาชนะสำหรับกวน น้ำที่จะใช้ผสมเป็นน้ำยานั้น โบราณใช้ฝักส้มป่อยมาปิ้งไฟพอสุกแล้วนำฝักส้มป่อยนั้นมาแช่น้ำสะอาดไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงมาผสมกับน้ำยาใน "โกร่ง" ที่เตรียมไว้ น้ำจากฝักส้มป่อยนี้มีรสเปรี้ยวจะไปแก้ความเค็มของหอระดาน เมื่อกวนน้ำส้มป่อยกับหอระดานที่ฝนไว้จนเข้ากันดีแล้ว นำไปผึ่งแดดไว้จนเกือบจะแห้ง แล้วจึงผสมกับน้ำกาว กาวที่ใช้ผสมจะใช้กาวที่ได้จากยางต้นมะขวิด หรือยางกะถิน นำยางนี้มาละลายกับน้ำ แต่ระวังอย่าให้เหนียวเกินไป ( เพราะถ้ากาวเหนียวเกินไป เวลานำน้ำยาที่ได้ไปเขียนลายรดน้ำแล้ว ลายเมื่อแห้งแล้วจะแตกร่อนได้ง่าย ) แล้วนำน้ำยางไปผสมกับหอระดานที่ผึ่งแดดไว้เกือบแห้งแล้ว น้ำยาที่ได้นี้นำไปเขียนลายรดน้ำ ได้ อนึ่ง น้ำยาสีเหลืองที่ได้สำหรับเขียนนี้ หากได้ทำเก็บไว้นานโดยยิ่งกวนมากก็ยิ่งมีคุณภาพดีมาก โบราณมักทิ้งเอาไว้สิบๆปี |

|
พัทกาวี
ลักษณะหัวโขน:
หน้ายักษ์เหลือง ปากแสยะ จระเข้บางตำราว่า ปากขบตาโพลงหัวโล้น สวมกะบังหน้า
รายละเอียด :
กายสีเหลือง มี ๒ หน้า ๑ มือ เป็นเสนายักษ์แห่งกรุงลงกา
|

|
เกสรทมาลา
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีเหลืองอ่อน หัวโล้นปากอ้า
รายละเอียด : ไม่ปรากฏว่าเป็นฝ่ายใดวานรพงศ์ของ พระเทวาภินิมมิตร(ฉาย เทวาภินิมมิตร)ว่าเป็นฝ่ายเมืองขีดขิน ชาติเดิมคือพระไพศรพณ์พระพนัสบดี เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในป่า มีลักษณะพิเศษคือมีกลิ่นกายหอมสดชื่นมีหน้าที่อยู่ใกล้พระราม ให้กลิ่นกายไปสร้างความสดชื่นแก่พระองค์
|
สีแดง
|
ในดั้งเดิม สีแดงน่าจะได้มาจากดินแดงตามหินผา หรือดินแดงที่เราพบตามชนบทนั่นเอง แต่คุณสมบัติดินแดงของไทยเมื่อนำมาผสมน้ำกาวแล้ว เนื้อจะฟ่าม เมื่อนำน้ายานั้นไประบายในพื้นที่ใหญ่ๆ จำเป็นที่จะต้องระบายให้หนาๆ หรือต้องผสมน้ำยานั้นให้ข้นจัด ซึ่งจะทำให้ระบายภาพได้เรียบๆยาก เพราะจะมีรอยแปลงโผล่ให้เห็น ต่อมามีการนำ "ดินแดงเทศ" จากอินเดีย ซึ่งมีเนื้อแกร่งกว่า และมีสีแดงสดกว่า สีจากดินแดงไทย แต่ดินแดงเทศอินเดียมีราคาแพงทำให้มีปริมาณไม่แพร่หลาย ภายหลังชาวจีนได้นำสีแดง มาขายซึ่งเรียกว่า "ตัวเปี๊ย" หรือผงสีแดง ชาดที่เป็นก้อนที่มีสีเป็นสีแดง เรียกชื่อว่า "ชาดอามุ่ย" จากเมืองเอ้หมึง และมีชาดสีแดงชนิดก้อน อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "ชาดจอแส" ซึ่งมีแหล่งมาจากเอ้หมึงเช่นกัน แต่คุณภาพรองลงมา มีชาดอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผงซึ่งบดมาจากหินสีแดง ซึ่งเรียก "สีเสน" ก็มาจากเมืองจีนเช่นกัน มีสีแดงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "สีลิ้นจี่" ที่มีลักษณะเป็นแผ่น โดยจีนเรียก "อินจี่" เป็นสีที่นิยมใช้ทาปากและแผ่นหินสีแดงอินจี่นี้ ละลายน้ำเป็นสีแดงได้ โดยการนำสำลีไปแช่ไว้กับน้ำสีอินจี่ เมื่อน้ำสีละลายหมดแล้วก็บีบสำลีเอาน้ำสีแดงออกมาใช้งาน โดยน้ำสีแดงที่ได้นี้แม้ผสมสีขาวแล้ว ก็ยังมีสีแดงสดอยู่ ภายหลังเมื่อสีแดงนี้แห้งแล้วจะมีสีเป็นสีชมภูแก่ |

|
สุครีพ
ลักษณะหัวโขน:
หน้าวานรปากอ้า สีแดงเสน หรือสีแดงชาด สอมชฎายอดบัด (บางแห่งว่ายอดเดินหน )
รายละเอียด :
เป็นโอรสพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา ต้องคำสาปจากฤาษีโคดมเช่นเดียวกับพญากากาศ เป็นน้องของพาลี
|

|
สุครีพ กายสีแดง |
สีขาว
|
สีขาวได้มาจากดินขาวที่นำมาเผาไฟจนสุกแล้วนำมาบด ดินขาวที่ได้จากวิธีนี้ เรียกชื่อว่า "กระบังฝุ่น" เป็นสีขาวอีกชนิดจากจีนมีคุณสมบัติเป็นผงสีขาว ยังมีสีขาวที่มาจากจีนอีก มีคุณสมบัติเป็นก้อนใหญ่ สีขาว สีขาวได้จากก้อนสีขาวจากจีนนี้เรียกว่า "กระบังก้อน"จะมีสีขาวที่มีคุณภาพดีกว่ากระบังฝุ่นเพราะมีเนื้อแกร่งกว่า เวลาจะใช้ต้องนำกระบังก้อนมาโขลกให้ละเอียดและกรองออกเป็นสีสีขาว มีฝุ่นสีขาวอีกชนิดหนึ่ง เรียกชื่อว่า "ซิงก์อ็อกไซด์" เนื้อฟ่ามกว่า กระบังก้อน แต่เนื้อขาวดีเท่าสีขาวจากกระบังก้อน แม้นำไปผสมสีอื่นก็ยังให้ผลสีนั้นมีสีสดใสดีขึ้นอีกด้วย ในโขนตัวหน้าขาว (white) มีหลายตัว เช่น หนุมาน มารีศ พระอโนมาตันและนางมณีเกสร กษัตริย์อยุธยาองค์ที่หนึ่งพระอัชบาลและนางเทพอักษร กษัตริย์อยุธยาองค์ที่สอง พระทศรถ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่สาม
|

|
พระปัญจสีขร
ลักษณะหัวโขน:
หน้าพระสีขาว สวมมงกุฎน้ำเต้า๕ ยอด
รายละเอียด:
กายสีขาว ๑พักตร์ ๔กร เป็นเทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรีถือ บัณเฑาะว์ พิณหรือกระจับปี่ รับอาสาพระอิศวรช่วยพระนารายณ์อวตารปราบยักษ์ โดยจุติเป็นญาณรสสุคนธ์ วานรเตียวเพชร
|

|
นางสีดา กายสีขาวผ่อง หรือ นวลจันทร์ |

|
หนุมาน
ลักษณะหัวโขน:
หน้าวานรปากอ้าสีขาว หัวโล้น สวมมาลัยทอง
รายละเอียด:
กายสีขาว มีกุณฑล (ต่างหู) ขนเพชร เขี้ยวเพชร (อยู่กลางเพดานปาก) หาวเป็นดาวเป็นเดือน ยามแผลงฤทธิ์จะมีสี่หน้า แปดกร เป็นบุตรพระพาย มารดาชื่อนางสวาหะ
|

|
หนุมาน กายสีขาว |

|
พระอิศวร กายสีขาว พระศอสีดำ เพราะเคยดื่มยาพิษมาก่อน |

|
นางมณโฑ กายสีขาว |

|
นางสุพรรณมัจฉา กายสีขาว |

|
มัจฉานุ
ลักษณะหัวโขน:
หน้าวานรปากอ้า สีขาวผ่อง หัวโล้น สวมมาลัยทอง
รายละเอียด:
กายสีขาวตัวเป็นวานร หางเป็นปลา เป็นบุตรหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาต่อมาได้เป็นบุตรบุญธรรมของไมยราพณ์
|

|
มัจฉานุ กายสีขาว |
สีเขียว
|
เมื่อมีการนำสี "เขียวตั้งแช" นำมาจากเมืองจีน ต่อมามีฝรั่งนำสนิมของทองแดง สีเขียวเรียก "เขียวตั้งแช" เช่นกันนำเข้ามาขาย และมีการนำหินสีเขียวมาย่อยบดเป็นผงเรียกว่า "สีเขียวตั้งแช" เช่นกัน สีเขียวตั้งแชที่ได้จากสนิมของทองแดง จะมีสีสันเขียวสดกว่าสีเขียวตั้งแชที่ได้จากก้อนหินสีเขียว แต่สีที่ได้จากสนิมทองแดงนานไปสีจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ ส่วนสีเขียวตั้งแชที่ได้จากก้อนหินเขียวนั้น แม้จะมีสีสันไม่สดใสเท่าสีเขียวจากสนิมทองแดง แต่สีเขียวที่ได้มีคุณสมบัติทนทานไม่เปลี่ยนสี สีเขียวจากหินก้อนนี้ เมื่อเวลาจะใช้จะต้องนำหินสีเขียวดังกล่าวมาฝนกับหิน คล้ายฝนก้อนหอระดานสีเหลือง ก้อนหินสีเขียวนั้นเนื้อบางส่วนจะมีสีสีครามจัด แต่เนื้อบางส่วนจะมีเม็ดสีเหลืองแทรกอยู่ทั่วไป ดังนั้นเมื่อเม็ดสีเหลืองนั้นผสมกับเนื้อสีครามจัดก็จะได้สีสีเขียว ตามต้องการ |

|
พระอินทร์ กายสีเขียว |

|
พระราม
ลักษณะหัวโขน หน้าพระสีเขียวนวลตอนครองเมืองสวมมงกุฎยอดชัยหรือพระมหามงกุฎตอนเดินดงสวมมงกุฎยอดเดินหนตอนทรงพรตสวมชฎายอดบวชหรือชฎายอดฤาษี กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ ๔กายสีเขียวนวล ๑ พักตร์ ๒ กร คือพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา
|

|
พระราม กายสีเขียว |

|
ทศกัณฐ์
ลักษณะหัวโขน:
ทำเป็นหน้ายักษ์ ๒ ชั้น ชั้นที่ ๓ ทำเป็นหน้าพรหม ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดชัยมี สีเขียว
รายละเอียด:
ทศกัณฐ์มีกายสีเขียว ๑๐ พักตร์ ๒๐ กร เป็นโอรสองค์ที่ ๑ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎานับเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของกรุงลงกา
|

|
ทศกัณฐ์ กายสีเขียว |

|
พิเภก กายสีเขียว |

|
กุมภกรรณ กายสีเขียว |

|
อินทรชิต กายสีเขียว |

|
กากาศ หรือ พาลี
ลักษณะหัวโขน:
หน้าวานรปากอ้า สีเขียวสด สวมชฎายอดบัด ( บางแห่งว่าชฎายอดเดินหน )
รายละเอียด:
กากาศหรือพาลี กายสีเขียวสด เป็นโอรสพระอินทร์กับนางกาลอัจนา ต้องคำสาปฤาษีโคดมกลายเป็นวานร
|

|
พาลี กายสีเขียว |

|
องคต กายสีเขียว |
สีคราม
|
เรียกว่า "ขาบ" มีการนำใบของต้นครามมาต้มจะได้สีน้ำเงินปนเขียว ดังนั้นจึงเรียก "สีน้ำเงิน" ด้วย ความจริงสีครามกับสีน้ำเงินจัดได้ว่าเป็นสีที่มีสีใกล้เคียงกันมาก เพราะถ้าทำให้สีครามแก่ขึ้นก็จะได้สีน้ำเงิน แต่ถ้าแก่จัดก็เรียก "สีกรมท่า" สีครามที่ใช้ในวงการเขียน ไม่เคยมีใครกล่าวว่านำเอามาจากต้นคราม เคยแต่พบว่า "ครามฝรั่ง" ซึ่งเป็นฝุ่นผง |

|
นนทจิตร
ลักษณะหัวโขน:
หน้ายักษ์สีมอคราม ปากแสยะ จระเข้ หัวโล้น สวมกะบังหน้า
รายละเอียด:
กายสีขาบ มี ๑ หน้า ๒ มือ เป็นเสนายักษ์แห่งกรุงลงกา
|
สีดำ
|
เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เขม่าดำ" คำว่าเขม่ามาจากภาษาเขมรคำว่า "เขมา" ซึ่งแปลว่าดำ เขม่าเดิมได้จากถ่าน ต่อมาได้จากเขม่าก้นหม้อ เพราะดำสนิทกว่าถ่าน บดก็ง่ายกว่ามาก |

|
นิลพัท
ลักษณะหัวโขน:
หน้าวานรปากอ้า สีน้ำรัก หรือ สีดำขลับ หัวโล้น สวมมาลัยทอง
รายละเอียด:
เป็นบุตรพระกาฬซึ่งพระอิศวรประทานให้ไปอยู่ช่วยกิจการบ้านเมืองของท้าวมหาชมพู
|

|
นิลพัท กายสีน้ำรัก หรือสีดำสนิท |
สีหลักทั้งหมดในตารางข้างต้น ถ้าต้องการสีอื่นๆเพื่อการเขียนภาพก็นำสีหลักๆข้างต้นมาผสมกัน โดยสีของไทยที่ผสมกันแล้วมีชื่อเรียกต่างๆกันไปดังต่อไปนี้
ชื่อสีไทย
|
ชื่อภาษาอังกฤษ
|
ส่วนผสม
|
สีจันอ่อน หรือ สีนวล
|
Light Yellow |
สีขาวผสมกับสีเหลือง |
สีจัน
|
Pale Orange |
สีแดงเสน ผสมสีเหลืองเจือสีขาว |

|
|
รณศักดิ์
ลักษณะหัวโขน: หน้ายักษ์สีจันทร์ปากแสยะ ตาโพลง หัวโล้น สวมกระบังหน้า
รายละเอียด : กายสีนวลจันทร์ ๑หน้า ๒มือ เป็นเสนายักษ์แห่งกรุงลงกา
|
สีดอกชบา |
Scarlet |
สีแดงผสมสีแดงเสนเล็กน้อย |

|
|
เป็นไม้ในสกุล Hibiscus ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย
|
สีดอกตะแบก หรือสีเม็ดมะปราง |
Purple |
สีแดงผสมสีคราม |

|
|
สีดอกตะแบก สีเม็ดมะปราง หรือสีม่วงคราม อีสานเรียก สีแหล่ |

|
|
พระนารายณ์ กายสีดอกตะแบก |
สีสมอหรือสีก้ามปู |
Dark Green |
สีเขียวผสมสีคราม หรือสีเขียวผสมสีดำ สีก้ามปู(dark green) เป็นสีเขียวๆดำๆ เช่น สีกายของตัวโขนรามเกียรติ์โชติมุข
|
สีหงดิน |
Dark Red |
สีแดงผสมดำเล็กน้อย |
สีเหลืองเทา |
Yellow Ochre |
ดินเหลืองหรือสีเหลืองผสมสีเขียวกับสีแดงเล็กน้อย |
สีกรักหรือสีน้ำหมาก มีการแบ่งออกเป็น สีสมอกรัก และสีกรักเสน |
Dark Brown |
ดินแดงผสมดำมากหน่อย หรือสีแก่นขนุนเข้ม |

|
|
จีวร สีกรักดำ เป็นผ้าจีวรสีหนึ่งที่พระคณะสงฆ์ธรรมยุติ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้จีวรสีกรักดำ หรือจีวรสีแก่นขนุนเข้ม หรือจีวรสีแก่นขนุน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่สำหรับจีวร สีราชนิยม นั้นจะอ่อนกว่า ส่วนผ้าจีวรสีเหลืองส้ม หรือสีทอง นั้นพระคณะสงฆ์มหานิกาย จะใช้ และเมื่อเข้าพระราชพิธี พระคณะสงฆ์จะใช้จีวร สีราชนิยม หรือสีราชทาน(ตามรูป) |

|
|
สีจีวรพระสงฆ์ ในเฉดสีต่างๆ |

|
|
สีแก่นขนุน |

|
|
สีทอง |

|
|
สีราชนิยม |
ช่างเขียนสีไทย มีการตั้งชื่อสีผสมออกเป็นกลุ่มสีพวก "หง" และกลุ่มสีผสมจำพวกสี "มอ" (สีที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย หงส์นั้น ส่วนใหญ่เป็นสีแดงต่างๆที่ผสมด้วยฝุ่นขาวให้ดูอ่อนลง แต่ถ้าเป็นสีอื่นผสมสีขาว ไม่เรียกหงส์ เช่นสีครามเจือสีขาว ไม่เรียกหงส์คราม แต่เรียก ครามอ่อน สีที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า มอ หมายถึงการทำสีให้หม่นลง ด้วยการผสมสีดำ เช่น สีครามเจือสีดำ เรียกสีมอคราม แต่ถ้าพวกสีแดงต้องการให้หม่นลงด้วยการเจือสีดำ ไม่เรียก มอแดง แต่เรียก สีแดงตัด ) ซึ่งสามารถลำดับได้ดังนี้
หงชาด |
Bright Red |
ใช้แดงผสมสีขาว แต่ถ้าขาวมากไปจะกลายเป็นสีชมภู |
หงส์เสน (แต่ไม่ใช่ สีเสน)คือสีแดงเสน |
Light Red |
ใช้สีแดงผสมสีเหลืองและเจือสีขาวเล็กน้อย หรือสีแดงเสนผสมสีขาว |
หงสดิน |
Dark Red |
ใช้สีแดงผสมดำเล็กน้อย หรือสีดินแดงผสมสีขาว |
หงสบาท |
Indian Red |
ใช้สีแดงผสมสีเหลืองเจือครามอ่อนเล็กน้อย หรือสีแดงผสมสีขาว |
มอหมึก |
Grey Blue Black |
ใช้สีขาวผสมสีครามเจือสีดำ (สีสวาด) |
มอมืด |
Dark Grey |
ใช้สีขาวผสมสีดำเจือสีแดง |
มอคราม |
Cobalt |
ใช้สีครามผสมสีน้ำเงินเจือสีเขียวเล็กน้อย |
ชื่อสีของไทย ถ้าจะเทียบเป็นชื่อสีภาษาอังกฤษ สามารถสำแดงได้ตามลำดับดังนี้
ชื่อสีไทย
|
ชื่อสีภาษาอังกฤษ
|
สีลิ้นจี่ |
Grimson Red |
สีบัวโรย |
Fade Red |
สีน้ำรัก |
Dark Sepia |
สีสัมฤทธิ์ |
Sepia |
สีจำปา |
Deep Yellow |
สีน้ำไหล |
Green |
สีทองแดง |
Bright Brown |
สีผ่านแดง |
Piebald Brown |
สีผ่านดำ |
Piebald Black |
สีผ่านขาว |
Piebald White |
สีครึ้มฝน |
Azure |
สีเลื่อมประภัสสร หรือสีเลื่อมเหลือง |
Light Yellow |
สีไพร |
Cadmium Orange |
สีไพรเน่า |
Yellow Ochre |
สีขาบ |
Dark blue เป็นสีน้ำเงินแก่ เช่น นนทยักษ์ |
สีขาว
|
white มีหลายตัว เช่น หนุมาน มารีศ
|
สีเขียว |
green เช่น ทศกัณฐ์
|
สีเขียวใบแค |
สีเหลืองผสมสีคราม |
สีครามอ่อน |
pale indigo blue เช่น ไวตาล สีครามอ่อน เกิดจากนำสีครามผสมกับสีขาว
|
สีมอคราม
|
indigo blue indigo grey เป็นสีฟ้าคล้ำ เช่น มากัญจวิก สีมอครามเกิดจากการนำสีครามผสมกับสีดำ
|
สีมอหมึก |
สีดำผสมกับสีขาว |
สีม่วง
|
purple เช่น นิลปานัน สีม่วงเกิดจากการนำสี ครามผสมกับสีแดง |
สีม่วงแก่
|
dark purple เช่น เกยูร
|
สีม่วงอ่อน
|
light purple เช่น ไมยราพณ์
|
สีน้ำรัก
|
dark spra เป็นสีน้ำตาลไหม้ค่อนข้างดำ เช่น นิลพัท
|
สีน้ำไหล |
sea green ฟ้าอมเขียว เช่น นิลราช |
สีเมฆ
|
dark grey เทาเข้ม เช่น ไวยบุตร
|
สีเทา
|
grey เช่น ไชยามพราน
|
สีดำ |
black เช่นทรพี
|
สีดำหมึก
|
sable สีดำปนน้ำตาลไหม้ เช่นตรีบุรัม
|
สีดินแดง
|
dark brick red คือสีแดงคล้ำ เช่น รณสิทธิ์
|
สีบัวโรย
|
fade rose คือสีปูนแห้ง เช่นโกมุทราช
|
สีแดงชาด
|
bright red คือสีแดงสด เช่นสุครีพ
|
สีนวล |
คือสีเหลืองผสมสีขาว |
สีหงส์ชาด สีหงส์ดิน สีหงส์บาท มีสีแดงเช่นเดียวกัน
|
สีหงส์ชาด คือสีแดงชาดผสมสีขาว |
สีแดงตัด |
คือสีแดงผสมสีดำ |
สีดินแดงตัด |
คือ สีดินแดงผสมสีดำ |
สีส้ม |
คือสีเหลืองผสมสีแดง |
สีลิ้นจี่ |
crimson lake คือสีแดงเลือดนก เช่นวิสันตราวี |

|
พระลักษณ์
ลักษณะหัวโขน:
หน้าพระสีทอง สวมมงกุฎยอดเดินหน มงกุฎยอดชัยหรือพระมหามงกุฎ
รายละเอียด:
เป็นอนุชาของพระราม กายสีทอง 1 พักตร์ สอง 2 กร คือ บัลลังค์นาคและสังข์ของพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถกับนางสมุทรชา
|

|
พระลักษณ์ กายสีทอง |
|
|
|
|
|
|
สีทอง |
golden เช่นพระลักษมณ์ |

|
นิลเอก
ลักษณะหัวโขน : หน้าวานรสีทองแดง หัวโล้น ปากหุบ
รายละเอียด : ชาติเดิมคือพระพินายวินายก นิลเอกคือผู้ที่ไปช่วยพระลักษณ์ทำลายพิธีกุมภนิยาของอินทรชิต
|
สีทองแดง |
copper เช่น นิลเอก |
สีเหลือง สีเหลืองแบ่งออกได้เป็นอีกหลายประเภท |
yellow เช่นสุรกานต์ สีเหลืองแบ่งออกได้เป็นอีกหลายประเภท |
สีเหลืองแก่ |
dark yellow เช่น ปังคลา |
สีเหลืองเทา |
yellow grey เช่น วาหุโลม |
สีเหลืองอ่อน |
light yellow เช่น เกสรทมาลา |

|
พระอุมาเทวี กายสีเหลืองอ่อน |
สีเลื่อมประภัสสร |
light yellow สีเลื่อมประภัสสรต่างกับสีเหลืองอ่อนที่ สีเลื่อมประภัสสร
จะเงา และมีแสงแพรวพราว เช่น นิลปาสัน |